ประวัติความเป็นมา

สน.โคกคราม ได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการในกรมตำรวจ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิ.ย. ๓๙ และเมื่อวันที่ ๑๒ ส.ค. ๓๙ ได้แบ่งพื้นที่บางส่วนจาก สน.คันนายาว จัดตั้งเป็น สน.โคกคราม มีพื้นที่รับผิดชอบ ๑๒.๕๖๐ ตร.กม. นับจากปีแรกที่จัดตั้งจนถึงสิ้นปี ๒๕๔๖ ได้เช่าอาคารตึกแถว ๔ ชั้น ๓ คูหา เลขที่ ๕๑/๑๔๖-๑๔๘ ถนนนวลจันทร์ แขวง - เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร เป็นที่ทำการ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ อาจารย์ ประสงค์ อ้นสุวรรณ ได้บริจาคที่ดิน จำนวน ๒ ไร่ บริเวณซอยนวลจันทร์ ๓๖ เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการ สน.โคกคราม แห่งใหม่ และได้ย้ายมาให้บริการประชาชนตั้งแต่วันที่ ๕ ม.ค. ๔๗ เป็นต้นมา ปัจจุบัน สน.โคกคราม ตั้งอยู่อาคาร เลขที่ ๗๗๗ ซอยนวลจันทร์ ๓๖ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๓๐ หมายเลขโทรศัพท์กลาง ๐-๒๕๐๙-๐๖๖๖ และ ๐-๒๕๐๙-๐๓๗๗ (ห้องวิทยุ-โทรสาร)
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจความรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการในสังกัด บช.น.และ บช.ภ. ๑- ๙ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ ต.ค. ๕๐ เป็นต้นไป สน.โคกคราม มีพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากเดิม๑๒.๕๖๐ ตร.กม. เป็น ๒๒.๕๐ ตร.กม.

สภาพข้อมูลทั่วไปของสถานีตำรวจนครบาลโคกคราม

ที่ตั้ง
เลขที่ ๗๗๗ ซอยนวลจันทร์ ๓๖ (ซอยรัชนี) ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๓๐
หมายเลขโทรศัพท์กลาง ๐-๒๕๐๙-๐๖๖๖ และ๐-๒๕๐๙-๐๓๗๗ (ห้องวิทยุ-โทรสาร)

พื้นที่
สน.โคกคราม มีพื้นที่รับผิดชอบในการป้องกันอาชญากรรม ๒๒.๕๐ ตร.กม. แบ่งเป็น ๕ เขตตรวจ
ทิศเหนือ ติดต่อเขต สน.คันนายาว
ทิศใต้ ติดต่อเขต สน.โชคชัย และ สน.ลาดพร้าว
ทิศตะวันออก ติดต่อเขต สน.บึงกุ่ม และ สน.บางชัน
ทิศตะวันตก ติดต่อเขต สน.บางเขน

ประชากร
มีจำนวนประชากรในพื้นที่ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน

สภาพพื้นที่, พื้นที่รับผิดชอบ
เขต สน.โคกคราม มีพื้นที่รับผิดชอบ ๒๒.๕๐ ตร.กม. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมทั้งชุมชนต่าง ๆ สถานที่ราชการ และบริษัทขนาดกลาง
เขต สน.โคกคราม / เขตปกครอง
เขตพื้นที่รับผิดชอบของ สน.โคกคราม มีพื้นที่ปกครอง ๔ เขต ๔ แขวง ดังนี้คือ
เขตบึงกุ่ม มี ๑ แขวงดังนี้ แขวงนวลจันทร์
เขตคันนายาว มี ๑ แขวงดังนี้ แขวงรามอินทรา
เขตลาดพร้าว มี ๒ แขวงดังนี้ แขวงลาดพร้าว แขวงจระเข้บัว
เขตบางเขน มี ๑ แขวงดังนี้ แขวงท่าแร้ง

แนวการแบ่งเขตพื้นที่ ของสถานีตำรวจนครบาลโคกคราม

ทิศเหนือ เริ่มจากบริเวณที่ขอบทางเท้าด้านนอก ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (ถนนรามอินทรา) ฟากใต้ บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของซอยรามอินทรา ๑๔ ฟากตะวันตก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (ถนนรามอินทรา) ฟากใต้จนบรรจบกับแนวขอบทางเท้าด้านตะวันออกของทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (กาญจนาภิเษก)

ทิศตะวันออก เริ่มจากบริเวณที่ขอบทางเท้าด้านนอก ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (ถนนรามอินทรา) ฟากใต้จนบรรจบกับขอบทางเท้าด้านตะวันออก ของทาง หลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนกาญจนาภิเศก) ไปทางทิศใต้ เลียบไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนกาญจนาภิเศก)บรรจบกับแนวขอบทางเท้าด้านนอกของซอยสำนักสงฆ์ (นวมินทร์ ๗๔)ฟากเหนือตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของซอยสำนักสงฆ์(นวมินทร์ ๗๔) ฟากเหนือ บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนนวมินทร์ ฟากตะวันออกตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของถนน นวมินทร์ฟากตะวันออกมาทางทิศใต้ จนบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนเกษตร-นวมินทร์ฟากใต้

ทิศใต้ เริ่มจากบริเวณขอบทางเท้าด้านนอกของถนนเกษตร- นวมินทร์ ฟากใต้บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนน นวมินทร์ฟากตะวันออก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เลียบไปตามขอบทางเท้าด้านนอกของถนนเกษตร-นวมินทร์ฟากใต้ จนบรรจบกับริมคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันตก

ทิศตะวันตก เริ่มจากบริเวณขอบทางเท้าด้านนอกของถนนเกษตร-นวมินทร์ฟากใต้ บรรจบกับริมคลองฝั่งตะวันตก คลองหลุมไผ่ คลองสามขาฝั่งเหนือ บรรจบกับขอบทางด้านนอกของซอยรามอินทรา ๑๔ (มัยลาภ)ฟากตะวันตก ขึ้นไปทางด้านเหนือตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกซอยรามอินทรา ๑๔ จนบรรจบขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงแผ่นดิน ๓๐๔ (ถนนรามอินทรา)ฟากใต้

สภาพทั่วไปของพื้นที่และข้อมูลท้องถิ่น

สภาพพื้นที่เดิมเป็นชานเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา ปัจจุบันสภาพพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงไปในทางเจริญเข้าสู่สังคมเมืองมากขึ้น มีย่านธุรกิจ หมู่บ้านจัดสรร มีสถานที่ราชการ ศูนย์การค้า เป็นต้น
จำนวนประชากรในพื้นที่ ประชากรหลัก ๗๗,๙๓๘ป ระชากรแฝง ๑๑๖,๒๕๒ รวมทั้งหมด ๑๙๔,๑๙๐
ถนนสายสำคัญ
๑. ถนนนวมินทร์ ยาวประมาณ ๔ กิโลเมตร (มี ๖ ช่องทางเดินรถ)
๒. ถนนประเสริฐมนูกิจ ยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร (มี ๘ ช่องทางเดินรถ)
๓. ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ยาวประมาณ ๒.๑ กิโลเมตร (มี ๖ ช่องทางเดินรถ)
๔. ถนนนวลจันทร์ ยาวประมาณ ๓.๘ กิโลเมตร (มี ๔ ช่องทางเดินรถ)
ซอยที่สำคัญ
๑. ซอยนวลจันทร์ เชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนนวมินทร์ยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร
๒. ซอยมัยลาภ เชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนหมู่บ้านเสนานิเวศน์ ยาวประมาณ ๓ กิโลเมตร
๓. ซอยอยู่เย็น เชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับซอยโชคชัย ๔ ถนนลาดพร้าวยาวประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และยังเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับซอยนวลจันทร์อีกด้วย
๔. ซอยลาดปลาเค้า เชื่อมระหว่างถนนรามอินทรา และถนนประเสริฐมนูกิจ
ข้อมูลท้องถิ่น
๑. ชุมชนแออัด ๑๐ ชุมชน
๒. ศาสนสถาน ๗ แห่ง
๓. โรงพยาบาล ๔ แห่ง
๔. สถานศึกษา ๑๘ แห่ง
๕. หน่วยราชการ ๑ แห่ง
๖. ธนาคาร ๒๐ แห่ง
๗. ร้านทอง ๓ แห่ง
๘. ร้านสะดวกซื้อ ๔๔ แห่ง
๙. สถานีบริการน้ำมัน/แก๊ส ๒๙ แห่ง
๑๐. สถานบริการ ๙ แห่ง
๑๑. ศูนย์การค้า ๔ แห่ง
๑๒. อู่ซ่อมรถ ๒๑ แห่ง
๑๓. เต้นท์รถยนต์มือสอง ๙ แห่ง
๑๔. ร้านรับซื้อของเก่า ๑๐ แห่ง
๑๕. ร้านอินเทอร์เน็ต/เกมส์ ๓๘ แห่ง
๑๖. อพาร์ทเมนท์ ๙๖ แห่ง
๑๗. หมู่บ้านจัดสรร ๙๓ แห่ง